รายการอุปกรณ์ที่ต้องมีสำหรับผู้ปลูกในร่ม

คุณจำเป็นต้องมีอุปกรณ์สำหรับการปลูกต้นไม้ภายในร่มมากแค่ไหน จริง ๆ แล้ว ก็อาจขึ้นอยู่กับผู้ปลูกแต่ละคนว่าจะใช้เครื่องอะไรแบบไหนบ้าง และแน่นอนว่าผู้ปลูกแต่ละระดับก็มักจะมีรายการเครื่องมือเครื่องใช้ที่แตกต่างกันไปด้วยเช่นกัน


สำหรับผู้ปลูกหน้าใหม่นั้นอาจจะเกิดความสับสนในการเลือกเครื่องมือชุดแรกของตัวเอง แม้ว่าอาจจะหาข้อมูลออนไลน์มาบ้างแล้ว แต่ก็ยังไม่ค่อยชัดเจนสักเท่าไหร่ และหลายครั้งที่ไปลงเอยด้วยการซื้ออุปกรณ์มามากมาย เกิดนกว่าการใช้งานจริง เป็นการเพิ่มต้นทุนสำหรับการลงทุนให้สูงกว่าที่ควรจะเป็น


แม้ว่าอุปกรณ์สำหรับเพาะปลูกมากมายจะมีประโยชน์ แต่ก็มีเพียงแค่ไม่กี่อย่างเท่านั้นที่ถือว่าจำเป็นสำหรับการเพาะปลูกในร่ม จึงจำเป็นที่จะต้องแยกประเภทเครื่องมือระหว่างเครื่องที่จำเป็นจริง ๆ และเครื่องมือที่มีก็ดี ออกจากกัน จะช่วยทำให้เลือกได้อย่างชัดเจนมากยิ่งขึ้น ช่วยประหยัดต้นทุนลง


รายการเครื่องมือต่อไปนี้ที่เราเตรียมมาจะช่วยให้คุณทำความเข้าใจได้อย่างชัดเจน พร้อมสำหรับการปลูกในเต็นท์ในร่ม โดยงบไม่บานปลายอย่างแน่นอน

สิ่งจำเป็นสำหรับการปลูก vs. เครื่องมือช่วยเพิ่มความสะดวก – รายการอุปกรณ์ที่ต้องมีสำหรับผู้ปลูกในร่ม

 

ไฟปลูกต้นไม้: พืชทุกต้นต้องการแสงไฟเพื่อทำการสังเคราะแสงให้เจริญเติบโต ดังนั้นไฟปลูกต้นไม้จึงจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับการปลูกในร่ม ถ้าหากไม่ติดไฟปลูกในเต็นท์ ต้นไม้ก็จะตาย

ผู้ปลูกในร่มส่วนใหญ่ก็จะใช้ไฟทั้งหมด 3 รูปแบบ คือหลอดไฟฟลูออเรสเซนต์ Fluorescent Light Bulbs (CFL), ไฟ LED และหลอดไฟความเข้มข้นสูง High-Intensity Discharge (HID) ซึ่งบางเคสก็มีการผสมผสานหลอดทั้ง 3 รูปแบบเข้าด้วยกัน ขึ้นอยู่กับชนิด และช่วงการเติบโตของพืชที่ปลูก


ตัวอย่างเช่นการใช้หลอดความเข้มข้นต่ำ CFL ในช่วงระยะเป็นต้นกล้า เมื่อเริ่มโตขึ้นมาอีกขั้น ก็จะเริ่มเปลี่ยนมาใช้หลอดแบบ HID หรือ LED ที่มีความเข้นข้นแสงสูงขึ้น แต่ถ้าหากคำนวณเรื่องต้นทุน และการควบคุมอุณหภูมิ หลอดแบบ LED จะเหมาะกับการใช้ภายในเต็นท์มากที่สุด.


แผงหลอดไฟ UV/IR Bar: มีการถกเถียงกันมากมายกับการใส่หลอดไฟ UV และ IR ไว้ภายในเต็นท์ หรือแม้แต่กับคนที่เลือกจะใช้ ก็ยังไม่แน่ใจว่าต้องใส่มากขนาดไหนถึงจะพอดี แต่ที่แน่นอนเลยคือแสงเหล่านี้มีส่วนช่วยในการเร่งการออกดอก หรือการออกผลของพืชได้

มันอาจจะไม่นับเป็นสิ่งจำเป็นสำคัญที่จะต้องมี แต่มันจะช่วยเพิ่มผลผลิต และลดระยะเวลาในการเก็บเกี่ยวได้มากยิ่งขึ้น ลองศึกษาชนิดพืชที่คุณปลูกดู ว่าหลอดไฟเหล่านี้จะช่วยพืชของคุณได้ในช่วงเวลาไหนบ้าง และต้องการปริมาณมากเท่าไหร่ถึงจะพอดี



พัดลมท่อ: พืชต้องการถ่ายเทอากาศภายในเต็นท์ด้วยในการเจริญเติบโต จึงเป็นที่มาพัดลมท่อสำหรับถ่ายเทอากาศสำหรับเต็นท์ พัดลมนี้จะช่วยเอาอากาศนิ่งภายในเต็นท์ออกไป เพื่อลดความร้อน และความชื้นภายในเต็นท์ และเติม CO2 เข้ามาแทนที่ภายให้มากขึ้น


แม้แต่พืชที่เติบโตในเขตร้อนชื้น ยังไม่สามารถเจริญเติบโตได้ในสภาพอากาศที่นิ่งไม่ถ่ายเท ถ้าหากคุณไม่ใช้พัดลมช่วย ก็มีโอกาสมากที่พืชจะไม่โต ติดเชื้อรา หรือราน้ำค้าง

คุณสามารถเรียนรู้เกี่ยวกับการเลือกพัดลมสำหรับเต็นท์เพิ่มเติมได้ที่ บล็อกของเรา



พัดลมหนีบ/แขวน: อาจจะไม่จำเป็นต้องเพิ่มพัดลมหนีบในเต็นท์ 1 หรือ 2 ตัว ในเต็นท์ แต่มันก็ช่วยให้พัดลมท่อทำงานได้ดีมากยิ่งขึ้น ตัวพัดลมจะช่วยสร้างลมโชยอ่อน ๆ ภายในเต็นท์ และยังมีส่วนช่วยให้ลำต้นมีความแข็งแรงมากขึ้น


ท่ออากาศ และแหวนรัด: การติดตั้งพัดลมท่ออาจจำเป็นต้องมีการเดินท่อช่วยด้วย เพื่อจัดสรราอากาศจากภายนอกเข้ามา และเป็นช่องถ่ายเทอากาศออกไปข้างนอก โดยไม่รบกวนอากาศภายในห้อง หรือบ้านของเรา และยังเป็นการป้องการไม่ให้มีแสงหลุดรอดเข้าไปรบกวนพืชภายในเต็นท์ด้วย


กรองอากาศคาร์บอน: เมื่อมีพัดลมท่อแล้ว ก็ควรต้องพิจารณาเพิ่มเติมกรองอากาศคาร์บอนเข้าไปด้วย แม้ว่าอาจจะไม่ถึงกับเป็นอุปกรณ์ที่จำเป็นต้องมีจริง ๆ แต่มันจะช่วยกรองกลิ่นไม่พึงประสงค์จากพืชได้ ยิ่งถ้าพืชที่เราปลูกเป็นพืชที่มีกลิ่นแรง ก็ยิ่งช่วยได้มาก

กระถาง หรือถุงปลูก: เหมือนกันกับแสงสว่าง และการถ่ายเทอากาศ พืชจำเป็นต้องมีภาชนะใส่สำหรับการปลูกในร่ม แต่ก็จะแตกต่างกันไปตามชนิด และรูปแบบการปลูก อย่างการปลูกด้วยดิน หรือแบบน้ำไฮโดรโปนิกส์


สำหรับการปลูกด้วยดินนั้นจะต้องให้ความสำคัญกับการระบายน้ำ ขนาดของภาชนะขึ้นอยู่กับพืชที่เราปลูก ขนาดของเต็นท์ และช่วงวัยของพืช ตัวอย่างเช่นการปลูกต้นกล้าในถุง หรือกระถางขนาดเล็ก แล้วค่อยย้ายไปลงขนาดที่ใหญ่ขึ้นเมื่อต้นเริ่มโตขึ้น


ระบบปลูกด้วยน้ำไฮโดรโปนิกส์: ผู้ปลูกแบบไฮโดรโปนิกส์จำเป็นต้องลงทุนอุปกรณ์เพิ่มมากกว่าการปลูกด้วยดิน ตัวอย่างเช่นหินเพิ่มอ็อกซิเจน Air Stone และปั๊มน้ำ เพื่อส่งไปหล่อเลี้ยงรากของพืช ยังมีการปลูกแบบเอโรโปนิกส์ที่จำเป็นต้องใช้หัวสเปรย์ฉีดเพิ่มเติมอีก ระบบไฮโดรโปนิกส์ส่วนใหญ่จำเป็นต้องมีอ่างเก็บน้ำสำหรับการใส่อาหารเสริมต่าง ๆ ให้กับพืชด้วย


การปลูกแบบไฮโดรโปนิกส์ส่วนใหญ่ยังจำเป็นต้องมีส่วนผสมตินจากกากมะพร้าว เม็ดดิน และเพอร์ไลต์ เพื่อช่วยเกาะลำต้นเอาไว้ด้วย


และต้องดูเรื่องข้อจำกัดของเต็นท์ปลูกสำหรับใช้งานระบบน้ำไฮโดรโปนิกส์นี้ด้วย


เธอโม-ไฮโกรมิเตอร์: บางคนอาจจะบอกว่าเครื่องวัดเธอโม-ไฮโกรมิเตอร์นี้ไม่สำคัญสำหรับการปลูกในร่ม แต่ส่วนใหญ่แล้วผู้ปลูกในร่มก็ใช้งานเครื่องตัวนี้กันหมด ตัวเลข จากเครื่องเป็นข้อมูลสำคัญในการคอยเช็กดูระดับอุณหภูมิ และความชื้น ถ้าหากน้อย หรือมากเกินไป จะได้สามารถปรับเปลี่ยนกำลังไฟ หรือพัดลมให้เหมาะสม


เครื่องวัดความเป็นกรด-ด่าง (PH Tester): เป็นอุปกรณ์อีกตัวที่ผู้ปลูกในร่มส่วนใหญ่ใช้กันทั้งนั้น บางคนยังบอกว่าเป็นเครื่องมือที่สำคัญยิ่งกว่าเธอโม-ไฮโกรมิเตอร์ด้วยซ้ำไป


เราไม่สามารถรับรู้ความเป็นกรด-ต่างได้จากประสาทสัมผัสของร่างกายเราเหมือนกับอุณหภูมิ และความชื้น จึงจำเป็นต้องมีเค

รื่องมือช่วยอ่านค่าที่เชื่อถือได้ เพื่อให้มั่นใจได้ว่าดิน หรือน้ำที่เราใช้ปลูกนั้น อยู่ในสภาพที่พอดีกับพืชของเรา


ซึ่งหากไม่มีเครื่องอ่าน กว่าที่จะเห็นว่าปัญหานี้เกิด พืชของเราก็จะเริ่มอ่อนแอแล้ว ดังนั้นจึงเป็นเครื่องสำคัญสำหรับการปลูกมากตัวนึง


เครื่องอ่านความชื้นในดิน (Soil Moisture Detector): ผู้ปลูกบางคนอาจยังกะระดับการรดน้ำไม่ถูก การให้น้ำที่มากเกินไปจะส่งผลเสียต่อพืช แม้ว่าคุณอาจจะสังเกตได้จากการกดนิ้วลงไปดินดู แต่ก็ถือว่าเป็นวิธีการทางวิทยาศาสตร์ที่ดีที่สุด เพื่อที่จะใช้บอกว่าควรรดน้ำเมื่อไหร่ ใครที่มือหนักรดน้ำเยอะ ควรหาเครื่องตัวนี้มาใช้ด้วย หรือถ้าจะไม่ซื้อเพิ่ม ก็ลองตั้งเวลารดน้ำให้พอเหมาะพอดีแทนเอา

เครื่องวัด (PAR Meter): เครื่องวัด PAR นี้ไม่ได้สำคัญมากเท่ากับเครื่องวัดความเป็นกรด-ด่าง หรือเธอโม-ไฮโกรมิเตอร์ แต่ก็เป็นเครื่องที่มีประโยชน์ช่วยในการปลูก คำว่า PAR จากชื่อนั้นก็ย่อมาจาก Photosynthetically Active Radiation หรือการแผ่รังสีสังเคราะห์แสงจากไฟปลูก

ผู้ผลิตส่วนใหญ่แล้วจะโชว์ค่า PAR และ PPFD เอาไว้ในสเปกของไฟปลูก แต่เครื่องอ่าน PAR จะช่วยให้ได้ค่าที่แม่นยำจากการอ่านจากพื้นที่ปลูกจริง ๆ ทำให้ช่วยป้องกันปัญหาไฟเผาพืช และการปรับความสูงไฟ LED ให้ได้กำลังไฟที่พอเหมาะสำหรับการปลูกในแต่ละช่วง

รีโมตสำหรับเต็นท์: การควบคุมไร้สายนับเป็นเรื่องปกติที่เห็นได้จากระบบ Smart Home ในทุกวันนี้ จึงไม่แปลกที่มันจะถูกนำเอามาใช้กับผู้ปลูกเพื่อเพิ่มความสะดวกสบายมากยิ่งขึ้นใน Smart Tent หรือเต็นท์อัจฉริยะรุ่นใหม่ ๆ มาพร้อมกับระบบควบคุมไฮเทกอัตโนมัติช่วยให้ปลูกต้นไม้ได้ง่ายมากยิ่งขึ้น

ตัวอย่างเช่นการใช้รีโมตควบคุมพัดลม และไฟในเต็นท์อย่างรวดเร็ว หรือแม้แต่เชื่อมต่อใช้งานกับแอปบนมือถือ เพื่อดูข้อมูลต่าง ๆ เช่นอุณหภูมิ และความชื่น จากหน้าจอได้ทันที หรือการสั่งงานอื่น ๆ อีกมากมายโดยไม่ต้องเดินไปใกล้เต็นท์เลยสักนิด

ถือว่าเป็นฟีเจอร์ที่จำเป็นสำหรับการปลูกในยุคนี้เลย แม้ว่าอุปกรณ์ง่าย ๆ อย่างเครื่องตั้งเวลาอาจจะช่วยเตือนเราได้ก็ตาม แต่มันคงไม่ได้สะดวกเท่ากับระบบอัจฉริยะนี้ แต่ถ้าหากว่าคุณเป็นคนขยันดูแลความสะอาด และต้องการปรับแต่งอุปกรณ์ต่าง ๆ ภายในเต็นท์ด้วยตัวเองก็ทำได้ การลงมือทำเองก็ถือเป็นการช่วยสอนให้เราได้เรียนรู้ขั้นตอนการทำงานต่าง ๆ จริง ช่วยเสริมทักษะการปลูกของเราให้เก่งขึ้น แม้ว่าอาจจะไม่ได้สะดวกเท่ากับการกดผ่านแอปก็ตาม


เครื่องทำ/ลดความชื่น (Dehumidifier/Humidifier): ผู้ปลูกบางรายจัดการความชิ่นด้วยพัดลม แต่เครื่องลดความชื้นจะช่วยให้ทำได้แม่นยำมากยิ่งขึ้น ถ้าหากว่าคุณซีเรียสเรื่องความชื่นภายในเต็นท์ก็แนะนำให้ใช้เครื่องนี้เข้ามาช่วยด้วยย การจัดการความชื้นที่เหมาะสมยังจะช่วยลดการรบกวนจากเชื้อราด้วย และช่วยให้จัดการได้ง่ายไม่ว่าสภาพอากาศภายนอกโดยรอบจะเป็นยังไงก็ตาม

เครื่องทำความร้อน (Heater): สำหรับคนที่อยู่ในพื้นที่มีสภาพอากาศหนาวเย็นอาจต้องมองเครื่องทำความร้อนสำหรับไว้ใส่ภายในเต็นท์ด้วย สำหรับเพิ่มอุณภูมิภายในให้สูงขึ้น ให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของพืช แต่ถ้าเป็นสภาพอากาศร้อนอยู่แล้วก็ไม่จำเป็นใด ๆ

เสื่อความร้อนเพาะเมล็ด (Seeding Heat Mat): จัดอยู่ในหมวดของอุปกรณ์ที่ถ้ามีก็ดี ช่วยเร่งให้โตได้ไวขึ้น ให้ความอุ่นที่เหมาะสมทำให้โตได้ไว จำลองสภาพให้เหมือนเป็นดินในช่วงฤดูใบไม้ผลิ เพิ่มสัดส่วนอัตราเมล็ดที่โตสำเร็จ แม้ว่าจะไม่ใช้ก็สามารถเพาะเมล็ดได้ แต่อาจจะใช้เวลานานกว่าเล็กน้อย

เครื่องเผา CO2: เป็นระบบเสริมยอดนิยมของคนปลูกพืชในร่ม ช่วยเพิ่มปริมาณ CO2 ภายในเต็นท์ให้มากขึ้น ช่วยเร่งการออกดอก และผล แต่จะมีต้นทุนค่าไฟเพิ่มขึ้นจากการใช้เครื่อง และการเร่งกำลังไฟปลูกภายในเต็นท์ให้แรงขึ้น เพื่อเร่งให้พืชดูดซึม CO2 ได้มากขึ้นด้วย

การเพิ่ม CO2 ไม่ได้จำเป็นต่อการโตของพืช สามารถเพิ่มได้แต่ก็จะเป็นการเพิ่มต้นทุนในการปลูก ถ้าหากจะใช้งานก็ลองคำนวณค่าใช้จ่ายดูก่อน


ฝาครอบความชื้น: เมื่อศึกษาภาชนะการปลูกเพิ่มขึ้น ก็อาจจะไปรู้จักกับฝาครอบความชื้น สำหรับช่วยในช่วงของการเพาะเมล็ดจนถึงเริ่มโตเป็นต้นกล้า ไม่ได้จำเป็นมากนัก แต่ถ้าหากว่ามีปัญหาในการเพาะเมล็ดก็นับเป็นอุปกรณ์ที่ช่วยได้

ลวดมัดต้น: หนึ่งในวิธีการเร่งโตพืชที่ง่ายที่สุดก็คือ การดัดกิ่ง Low-Stress Training (LST) เป็นการขยายลำต้นออกไปนอกกระถางด้วยลวด หรือเชือกมัด

แน่นอนว่าไม่ใช่อุปกรณ์ที่สำคัญ และจำเป็นต้องมี แต่การเรียนรู้ขั้นตอนการดัดจะช่วยเพิ่มผลผลิตให้มากขึ้นได้ พร้อมกับต้นทุนที่ต่ำ แต่ก็มีความเสี่ยงที่จะไหม้จากแสงไฟเผา

ตาข่าย: เหมือนกับลวดมัดที่เป็นอุปกรณ์เสริมสำหรับช่วยดัดต้น ไม่จำเป็นต้องมีก็ได้ ผู้ปลูกบางรายเอาใช้กับเทคนิคดัดแบบ Screen of Green (SCROG) ที่ใช้ต่าข่ายช่วยกางใบออกช่วงที่ต้นยังเล็ก และเมื่อทำเป็นคอกตาข่ายป้องกันดอกหัก

กรรไกรตัดกิ่ง: เป็นอุปกรณ์ช่วยตอนเก็บเกี่ยวที่ดี ลดเวลาการทำงานลงได้ จะใช้เป็นกรรไกรธรรมดาทั่วไปแทนก็ได้ แต่ก็อาจจะไม่แม่นยำเท่ากับกรรไกรสำหรับตัดกิ่งโดยเฉพาะ

ชั้นตากแห้ง: ถ้าหากว่าต้องตากแห้งผลผลิตที่เก็บเกี่ยวมาแล้ว อาจลองหาชั้นสำหรับตากแห้งมาด้วยก็ดี หรือถ้าหากว่าใครจะทำเองแบบ DIY ขึ้นมาเอง จากไม้แขวนเสื้อก็ได้เช่นกัน แต่ถ้าแบบที่ผลิตสำเร็จมาขายก็จะช่วยลดความยุ่งยาก ประหยัดเวลา และประหยัดพื้นที่ได้มากยิ่งขึ้น


แว่นขยาย: หรือหลายคนอาจจะเรียกว่ากล้องส่องพระ ไว้สำหรับใช้ส่องดูรายละเอียดต่าง ๆ ของพืช และผลผลิตที่ได้ ว่าคุณภาพออกมาดีอย่างที่ต้องการหรือเปล่า เพราะรายละเอียดเล็ก ๆ บางอย่าง อาจมองด้วยตาเปล่าได้ยาก หรือไม่เห็นเลย

แว่นตาป้องกัน: คลื่นแสงจากไฟปลูกต้นไม้อาจดูไม่อันตรายอะไร แต่มันสามารถสร้างความเสียหายกับดวงตาของเราได้รับแสงจากมันบ่อย ๆ โดยเฉพาะกับหลอดไฟแบบ UV/IR แว่นป้องกันจะช่วยกันรังสีแสงเข้มข้นเหล่านี้ได้ เวลาที่ต้องไปส่องดูเช็กพืชที่เราปลูกเอาไว้ อาจไม่ใช้อุปกรณ์ที่จำเป็น แต่ราคาค่าตัวมันถูกกว่าค่าผ่าตัดตาหลายเท่าแน่นอน

อุปกรณ์ทำความสะอาด: การฆ่าเชื้ออาจไม่ได้สำคัญเท่ากับค่า PPFD หรือ pH แต่ก็สำคัญมากสำหรับการปลูกพืชในร่ม ผู้ปลูกควรทำความสะอาดฆ่าเชื้ออุปกรณ์ต่าง ๆ ด้วยไอโซโพรพิลแอลกอฮอล์, ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ และน้ำส้มสายชู อุปกรณ์อย่างเครื่องดูด ไม้กวาด และที่ตักขยะก็ควรมีไว้เช่นกัน และเพื่อป้องกันการปนเปื้อนติดเชื้อ ควรใช้ถุงมือแบบใช้แล้วทิ้ง เวลาที่ต้องสัมผัสกับพืช

น้ำมันสะเดา: แม้ว่าคุณอาจจะรักษาความสะอาดรอบ ๆ เต็นท์ได้เป้นอย่างดีแล้วก็ตาม แต่ก็อาจมีศัตรูพืชแอบเล็ดลอดเข้าไปภายในได้ แมลงตัวเล็ก ๆ อาจเกาะติดไปตามเสื้อผ้าของคุณ หรืออาจเกาะมากับสัตว์เลี้ยงภายในบ้าน แล้วอาจบินหลุดเข้าไปภายในเต็นท์ได้ น้ำมันสะเดาจึงเป็นตัวขจัดศัตรูพืชเหล่านี้ชั้นดี

แม้ว่าอาจจะใช้ไม่ได้กับแมลงบางชนิด แต่ก็ถือว่าเป็นตัวช่วยจากธรรมชาติที่ดีที่สุดสำหรับการจัดการศัตรูพืช









คุณสมัครสำเร็จแล้ว!
อีเมลนี้ได้รับการลงทะเบียนแล้ว